วางแผนภาษี ซื้อประกันแบบไหนลดหย่อนภาษีได้ ?
ประกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฏหมายกำหนด โดนอัตราค่าลดหย่อนภาษี จะขึ้นอยู่ประกันและค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายตามจริงตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดในแต่ละปี
ค่าลดหย่อนภาษี คือ
รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยผู้เสียภาษีต้องคอยติดตามเงื่อนไขเป็นประจำ เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีให้ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด มีวิธีการคำนวณดังนี้
รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
ประเภทของประกันโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- ประกันชีวิตทั่วไป : ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต แบ่งออกเป็น 4 แบบ
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
- ประกันชีวิตควบการลงทุน
ประกันชีวิตทั่วไปสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขต้องซื้อประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และไม่มีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปีเท่านั้น
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ : ประกันชีวิตระยะยาว มุ่งเน้นออมเงิน
โดยเราต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตให้ครบตามระยะเวลาที่ทำ ถือเป็นการออมเงินอย่างต่อเนื่องจนถึงเกษียณอายุ และจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของเงินบำนาญ
ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อนำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ RMF จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
3. ประกันสุขภาพ : ประกันที่ทำไว้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เมื่อเกิดการเจ็บป่วย เนื่องจากอุบัติเหตุ
หรือเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงโรคร้าย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนด แบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
- ประกันสุขภาพตัวเอง (ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท)
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ (ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละไม่เกิน 15,000 บาท)
- ประกันสุขภาพคู่สมรส (ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละไม่เกิน 10,000 บาท)
- ประกันสุขภาพลูก (ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละไม่เกิน 30,000 บาท)
ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่า เมื่อนำเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป รวมกับประกันสุขภาพตัวเอง จะลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
ดังนั้น การเลือกซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี แนะนำว่าควรเลือกที่จำเป็น และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตด้วย ควรศึกษาข้อกำหนด สิทธิประโยชน์ และผลตอบแทนต่างๆ ของประกันเพื่อนำมาประกอบพิจารณาค่าลดหย่อนที่จะได้รับ ควบคู่ไปกับความคุ้มครองที่เหมาะสมด้วยนะครับ