meinsurance

ประกันรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

เลือกรุ่นรถยนต์สำหรับ พ.ร.บ.

พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

ความคุ้มครองแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ

ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต
ค่าชดเชย กรณีนอนรักษาเป็นคนไข้ในโรงพยาบาล
ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือรู้จักในนาม “พ.ร.บ.” (Compulsory Motor Insurance) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 กำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดและรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องมีการทำประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และเจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) จะได้รับโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ความคุ้มครอง (ไม่ต้องรอพิสูจน์ ถูก/ผิด) วงเงินคุ้มครอง
ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย สูงสุด 30,000 บาท/คน
การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุด 35,000 บาท
ความคุ้มครอง (ฝ่ายถูก) วงเงินคุ้มครอง
ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย สูงสุด 80,000 บาท
การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 500,000 บาท/คน
ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน สูงสุด 200 บาท/วัน
และสูงสุด 4,000 บาท/ครั้ง (สูงสุด 20 วัน)
จำนวนความรับผิดชอบรวมต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ไม่เกิน 504,000 ต่อหนึ่งคน